เมื่อวันที่ 6 ก.พ. ที่โรงแรมเรเนซองส์ กรุงเทพฯ นายปิยพงษ์ จิวัฒนกุลไพศาล รองอธิบดีกรมทางหลวง(ทล.)เป็นประธานการรับฟังความคิดเห็นภาคเอกชน(Market Sounding)สำหรับการให้เอกชนร่วมลงทุนในการพัฒนาและบริหารจัดการ โครงการศูนย์บริการทางหลวงศรีราชา และโครงการสถานที่บริการทางหลวงบางละมุง บนทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง(มอเตอร์เวย์)หมายเลข 7 สายกรุงเทพมหานคร-บ้านฉางคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
นายปิยพงษ์ เปิดเผยว่า ทล. ได้ดำเนินโครงการที่พักริมทางมอเตอร์เวย์ หมายเลข7สายกรุงเทพมหานคร-บ้านฉาง ช่วงกรุงเทพฯ-ชลบุรี-พัทยา-มาบตาพุด จำนวน2แห่ง วงเงินลงทุนรวม2,382.02ล้านบาท ได้แก่1.สถานที่บริการทางหลวงบางละมุง (Bang Lamung Service Area)พื้นที่ฝั่งละ38ไร่ วงเงินลงทุน766.45ล้านบาท แบ่งเป็นวงเงินก่อสร้าง634.16ล้านบาท ค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน132.29ล้านบาท และ2.ศูนย์บริการทางหลวงศรีราชา (Sriracha Service Center)พื้นที่ฝั่งละ59ไร่ วงเงินลงทุน1,615.57ล้านบาท แบ่งเป็น วงเงินก่อสร้าง831.34ล้านบาท ค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน784.23ล้านบาท
หลังจากรับฟังความคิดเห็นครั้งนี้ จะนำมาประกอบการดำเนินการจัดเตรียมเอกสารการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุน (Request For Proposal : RFP) คาดว่าจะประกาศเชิญชวนเอกชนช่วง พ.ค. 66 ก่อนจะยื่นข้อเสนอในเดือน ก.ยคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง. 66 และคณะกรรมการคัดเลือกประเมินข้อเสนอ เจรจาร่างสัญญา และสรุปผลการคัดเลือกฯ จากนั้นคาดว่าจะมีการลงนามสัญญาไม่เกินกลางปี 67 ก่อนจะมีการเปิดให้บริการบางส่วนในปี 68 และเปิดบริการเต็มรูปแบบในปี 69 โดยทั้ง 2 โครงการดังกล่าว มีอายุสัญญาสัมปทานรวม 32 ปี ซึ่งในจำนวนนี้เป็นระยะเวลาในการก่อสร้าง 2 ปี
นายปิยพงษ์ กล่าวต่อว่า ส่วนในเรื่องของผลตอบแทน เนื่องจากการลงทุนดังกล่าว เป็นการลงทุนในรูปแบบรัฐร่วมเอกชน (PPP Net Cost) จึงจะใช้วิธีให้เอกชนจ่ายผลตอบแทนเป็นรายปี ซึ่งขณะนี้ ทล. อยู่ระหว่างทบทวนตัวเลข แต่เดิมกำหนดราคาไว้ โดยแบ่งเป็น พื้นที่ศรีราชา ประมาณ 10 ล้านบาทต่อปี และพื้นที่บางละมุง ประมาณ 5 ล้านบาทต่อปี ทั้งนี้จะต้องมีการเพิ่มค่าตอบแทนทุกๆ 3 ปี ปัจจุบันเราพร้อมส่งมอบพื้นที่ทั้ง 2 โครงการแล้ว 100% และโครงการนี้ ถือเป็นโครงการพัฒนาที่พักริมทาง โครงการแรกที่เปิดให้เอกชนไทย ที่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลในไทย เข้าร่วมการประมูลเท่านั้น โดยโครงการนี้ไม่ได้เปิดให้เอกชนต่างชาติเข้าร่วมลงทุน เนื่องจากมองว่าเอกชนไทยมีศักยภาพเพียงพอ
ส่วนปริมาณจราจรที่ใช้บริการ M7 ช่วงศรีราชา ประมาณ 150,000-200,000 คันต่อวัน และ M7 ช่วงบางละมุงอยู่ที่ 15,000-16,000 คันต่อวัน คาดว่าภายใน 3 ปีถ้าท่าอากาศยานอู่ตะเภาเปิดให้บริการเต็มรูปแบบ และมีการพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (อีอีซี) จะทำให้มีการเดินทางช่วงพัทยา-มาบตาพุดเพิ่มมากขึ้น ส่วนค่าตอบแทนที่เอกชนจะต้องจ่ายให้ภาครัฐพื้นที่ศรีราชาประมาณ 10,000,000 บาทต่อปี และพื้นที่บางละมุง ประมาณ 5,000,000 บาทต่อปี
นายปิยพงษ์ กล่าวอีกว่านอกจากนี้ในปีนี้จะเตรียมให้เอกชนร่วมลงทุนพัฒนาและบริหารจัดการที่พักริมทาง บนทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง(มอเตอร์เวย์)จำนวน 2 เส้นทาง วงเงินลงทุนรวม 5,625ล้านบาท ได้แก่ 1.มอเตอร์เวย์หมายเลข6 (M6)สายบางปะอิน-นครราชสีมา วงเงินลงทุน 3,270ล้านบาท ประกอบด้วยที่พักริมทาง8ตำแหน่ง ได้แก่ จุดพักรถวังน้อย จุดพักรถหนองแค สถานที่บริการทางหลวงสระบุรี จุดพักรถทับกวาง ศูนย์บริการทางหลวงปากช่อง จุดพักรถลำตะคอง สถานที่บริการทางหลวง สีคิ้ว และจุดพักรถขามทะเลสอ
และ 2.ที่พักริมทาง บนมอเตอร์เวย์หมายเลข81 (M81)สายบางใหญ่-กาญจนบุรี วงเงินลงทุน2,355ล้านบาท ประกอบด้วยที่พักริมทาง3ตำแหน่ง ได้แก่ สถานที่บริการทางหลวงนครชัยศรี สถานที่บริการทางหลวงนครปฐม และจุดพักรถท่ามะกา โดยภายในปี 66 นี้จะดำเนินการเปิดประมูลแล้วเสร็จ และคาดว่าจะลงนามสัญญาได้ในปี 67 จากนั้น จะก่อสร้างมีแผนเปิดทดลองบริการพื้นฐานบางส่วน ได้แก่ ห้องน้ำ ที่จอดรถ และร้านค้าบางส่วนในปี 68 และจะเปิดให้บริการเต็มรูปแบบในปี 69
โครงการดังกล่าวภาคเอกชนลงทุนออกแบบก่อสร้าง จัดให้มีที่พักริมทางรวมถึงงานระบบ การจัดให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกและบริการต่าง ๆ ตามมาตรฐานและข้อกำหนดกรมทางหลวง ตลอดจนดูแล บำรุงรักษา บูรณะ และบริหารจัดการตลอดระยะเวลา32ปี (นับตั้งแต่วันที่เริ่มลงมือก่อสร้าง)